สารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหาร เกิดขึ้นได้จากทั้งเชื้อจุลินทรีย์ทางธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่แฝงอยู่ในอาหารสด ทั้งผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่ดูสดใหม่น่ารับประทาน หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องในปริมาณหนึ่งอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในบทความนี้จะมาพูดถึงกรณีที่สาวโพสเตือนการแพ้อาหารรุนแรงเนื่องจากการได้รับสารเคมีตกค้างในอาหารตามที่แพทย์วินิจฉัย รวมถึงที่มาและอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหาร

สาวรีวิวบุฟเฟต์ร้านดังทำแพ้สารปนเปื้อนในอาหารรุนแรง

สาวทำคลิปวิดีโอเตือนเป็นอุทาหรณ์ หลังไปกินบุฟเฟต์ปิ้งย่างร้านดังในห้าง แล้วเกิดอาการแพ้อาหารรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล

โดยสาวรายนี้โพสต์วิดีโอผ่าน TikTok โดยระบุข้อความว่า “หวังว่าเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นกับใครอีก เพราะมันไม่คุ้มเลยสักนิด เสียสุขภาพกายและใจ และเสียเวลาชีวิตสุดๆ หวังอย่างยิ่งว่าร้านจะรอบคอบกับการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารมากกว่านี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคทุกคน”

ซึ่งเนื้อหาในคลิปเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 66 ช่วงบ่ายโมง เธอไปกินบุฟเฟต์ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในห้าง แล้วร่างกายมีผื่นแดงระหว่างที่กำลังกินอยู่ ตอนนั้นเธอไม่รู้เลยว่าเป็นอาการแพ้รุนแรง ก็เลยไม่ได้สนใจอะไร

ผ่านไป 1 ชม. เริ่มมีผื่นลุกลามตามตัวเลยกินยาแก้แพ้แต่สุดท้ายผื่นแดงนั้นก็ไม่หาย จนวันที่ 19 ก.ค. 66 เธอตัดสินใจเข้าไปรักษาในโรงพยาบาล รักษาด้วยการฉีดยาและให้สเตียรอยด์อยู่ตลอด แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น

โดยเบื้องต้นหมอวินิจฉัยว่า อาการนี้ไม่ใช่การแพ้อาหารธรรมดา แต่เป็นการแพ้สารปนเปื้อนในอาหารประเภทสารเคมีบางอย่างที่อยู่ในโซเดียมหรืออยู่ในสารแช่แข็งหรือสารกันบูดต่างๆ ในอาหาร

ทั้งนี้ เธอยังบอกอีกว่า “หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องเตือนสติให้กับสายบุฟเฟต์ รวมถึงอาหารแช่แข็ง หรือคนที่ชอบกินของดิบ ขอให้ระวังกันให้มากๆ บางทีร้านดีๆ ก็ไม่ได้แปลว่าจะปลอดภัยเสมอไป”

โดยเรื่องการแพ้สารปนเปื้อนในอาหารดังกล่าวได้แจ้งไปทางร้านแล้ว กำลังรอบทสรุปว่าจะรับผิดชอบอย่างไร และจะมีมาตรการอะไรในการดูแลความปลอดภัยในคุณภาพอาหาร

ประเภทของสารปนเปื้อนในอาหาร

อาหารสด ทั้งผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่สีสันดูสดใหม่น่ารับประทาน แต่อาจแอบแฝงภัยที่ไม่ควรชะล่าใจ ซึ่งก็คือสารปนเปื้อนในอาหารที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่ง สามารถติดมากับดิน น้ำ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้อาจมีสารที่เติมลงไปเพิ่มเติม ทั้งยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าเชื้อรา รวมถึงสารปรุงแต่ง อาทิ สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารบอแรกซ์ และอีกมากมายที่หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องในปริมาณหนึ่งอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าจึงควรรู้จักระวังและป้องกันสารพิษตกค้างหรือสารปนเปื้อนในอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  1. สารเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดขึ้นจากอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ ส่วนใหญ่พบก่อน ระหว่าง และหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา ได้แก่ อะฟลาท็อกซิน ฯลฯ  สารพิษจากพืช ได้แก่ เห็ดพิษ มันสำปะหลัง ฯลฯ  สารพิษจากสัตว์ ได้แก่ พิษในหอย ปลาทะเล ปลาปักเป้าทะเล ฯลฯ
  2. สารเคมีที่เติมลงในอาหารโดยเจตนา ไม่ว่าจะเพื่อการเปลี่ยนแปลงกลิ่น สี รส การเน่าเสีย ฯลฯ หากใช้ในปริมาณที่กฎหมายกำหนดจะปลอดภัย แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจเกิดอันตราย ได้แก่  สารปรุงแต่งอาหารหรือเครื่องปรุงรสอาหาร เช่น น้ำปลา น้ำส้มสายชู ผงชูรส เป็นต้น วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารกันรา สารฟอกสีอาหาร เป็นต้น
  3. สารเคมีที่เติมลงในอาหารโดยไม่ได้เจตนาหรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ อาจติดมากับอาหาร บรรจุภัณฑ์ หรือปนเปื้อนระหว่างการผลิต ได้แก่ สารเคมีทำความสะอาด โลหะจากหมึกพิมพ์ ฯลฯ

ที่มาของสารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหารเกิดขึ้นได้จากทั้งเชื้อจุลินทรีย์ทางธรรมชาติ เช่น สารอะฟลาทอกซิน (aflagoxin) ซึ่งเป็นสารที่สร้างจากเชื้อรา Aspergillus spp สารพิษจากเห็นบางชนิด เป็นต้น และสารอาหารที่ปนเปื้อนในอาหารที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง บอร์แรกซ์ สารกันรา ฟอร์มาลีน เป็นต้น

ประเภทสารปนเปื้อนในอาหาร

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหารได้สรุปผลการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 10 ชนิด จุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร และการสุ่มตรวจประเมินตลาดสดประเภทที่ 1 ตามเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ และร้านอาหารแผงลอย ตามเกณฑ์ CFGT จากการรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ตามตัวชี้วัดระดับจังหวัด) ปีงบประมาณ 2551-2553 พบว่า โดยภาพรวมแล้วสารปนเปื้อนในอาหารมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก ร้อยละ 0.69 ในปี 2551 เพิ่มเป็น 0.83 ในปี 2552 และ เพิ่มขึ้นเป็น 1.91 ในปี 2553

โดยสารปนเปื้อนในอาหารที่เพิ่มขึ้นจนน่าวิตก อันดับ 1 ได้แก่

  • จุลินทรีย์ก่อโรค จากร้อยละ 1.19 ในปี 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 19.66 ในปี 2553
  • อันดับ 2 คือ อะฟลาทอกซิน จากร้อยละ 0.46 ในปี 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 10.20 ในปี 2553
  • อันดับ 3 คือ สารเร่งเนื้อแดง จากร้อยละ 0.17 ในปี 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 3.10 ในปี 2553
  • ส่วนที่เหลือรองลงมา คือ ยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา ตามลำดั

พิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหารแต่ละชนิด

1. สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร

คุณสมบัติของสาร : สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกรเป็นสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (Beta-agonist) เช่น ซาลบลูทามอล (Salbutamol), เคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) ซึ่งปกติใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืดในคนและสัตว์เท่านั้น แต่มีการลักลอบนำมาใช้ผสมอาหารเลี้ยงสุกร เพื่อเพิ่มเนื้อแดงและลดไขมันตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ทำให้เกิดการตกค้างของสารนี้ในเนื้อสุกร

ความเป็นพิษ : ถ้าบริโภคสารปนเปื้อนในอาหารนี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศรีษะ หัวใจเต้นเร็ว เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางประสาท มีผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ

2. สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค

คุณสมบัติของสาร : สารกันรา หรือ กรดซาลิซิลิค เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดห้ามนำมาใช้เจือปนในอาหาร แต่มีผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง พริกแกง หรือน้ำดองผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น และช่วยให้น้ำดองผัก ผลไม้ดูใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ

ความเป็นพิษ : ถ้าร่างกายได้รับสารปนเปื้อนในอาหารนี้เข้าไปจะไปทำลายเซลในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและหากได้รับเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ถ้าได้รับกรดซาลิซิคจนมีความเข้มข้นในเลือดถึง 25-35 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตรจะมีอาการอาเจียน หูอื้อ มีไข้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อค และอาจถึงตายได้

3. สารฟอกขาว

คุณสมบัติของสาร : สารฟอกขาวเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาล เมื่ออาหารนั้นถูกความร้อนในกระบวนการผลิต หรือถูกหั่น/ตัด แล้ววางทิ้งไว้ และยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา บักเตรี สารเคมีดังกล่าวที่นิยมใช้เป็นสารกลุ่มซัลไฟต์ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมซัลไฟด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียมหรือโปแตสเซียมแมตาไบซัลไฟต์ ซึ่งจะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ได้ในอาหารทุกชนิด คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ โซเดียมไดไทโอไนต์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการฟอกแหวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก แต่มีผู้ลักลอบนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร สารนี้มีคุณสมบัติในการสลายตัวได้เร็วเมื่อทิ้งไว้จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารกลุ่มซัลไฟต์

ความเป็นพิษ : ถ้าร่างกายได้สารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นสารฟอกขาวแล้ว กระบวนการในร่างกายจะเปลี่ยนสารไปอยู่ในรูปของซัลเฟตและขับออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าได้รับสารฟอกขาวกลุ่มโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือกลุ่มซัลไฟต์เกินกำหนด สารฟอกขาวจะไปทำลายไวตามินบี 1 ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง ในรายที่แพ้อาจเกิดลมพิษ ช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืด

4. สารบอแรกซ์

คุณสมบัติของสาร : สารบอแรกซ์หรือที่มีชื่อทางการค้าว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเพ่งแซ เป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของสารประกอบโบรอน มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต (Sodium borate) โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate) มีลักษณะไม่มีกลิ่น เป็นผลึก ละเอียด หรือผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ละลายในแอลกอฮอล์ 95% มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายแก่ร่างกายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด

แต่เนื่องจากบอแรกซ์มีคุณสมบัติทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน กับสารประกอบอินทรีย์โพลีไฮดรอกซี (Organic polyhydroxy compound) เกิดลักษณะหยุ่น กรอบ และเป็นวัตถุกันเสียได้ จึงมีการลักลอบนำสารบอแร็กซ์ผสมลงในอาหารหลายชนิด เช่น หมูบด ปลาบด ลูกชิ้น ทอดมัน ไส้กรอก ผงวุ้น แป้งกรุบ ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักกาดดอง เป็นต้น เพื่อให้อาหารเหล่านั้น มีลักษณะหยุ่น กรอบ แข็ง คงตัวอยู่ได้นาน นอกจากนี้ ยังมีการนำผงบอแร๊กซ์ไปละลายในน้ำ แล้วทาหรือชุบลงในเนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสดตลอดเวลา อีกทั้งยังมีการใช้ปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากบอแร็กซ์มีลักษณะภายนอกเป็นผลึกคล้ายคลึงกับผลึกผงชูรส

ความเป็นพิษ : ถ้าบริโภคสารปนเปื้อนในอาหารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สำไส้และกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง อุจจาระร่วง และเป็นพิษต่อตับ ไต และสมองได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณสารที่ได้รับ

5. สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์

คุณสมบัติของสารฟอร์มาลิน : มักใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพ ประกอบด้วย แก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ ประมาณร้อยละ 37-40 ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติกสิ่งทอเพื่อใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ใช้ป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี ข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกธัญญาพืชหลังการเก็บเกี่ยว

ฟอร์มาลินเป็นอันตรายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด แต่ปัจจุบันยังมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่าย จึงมีการนำมาใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ผักสดชนิดต่างๆ เป็นต้น

ความเป็นพิษ : ถ้าร่างกายได้รับสารปนเปื้อนในอาหารของสารฟอร์มาลิน จากการบริโภคอาหารที่มีสารดังกล่าวตกค้างอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสัมผัสอยู่เป็นประจำ จะทำให้เกิดการสะสมจนทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ และสารฟอร์มาลินยังเป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิตได้ด้วย

6. ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

คุณสมบัติของสาร : ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ วัตถุมีพิษที่นำมาใช้เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช สัตว์ และมนุษย์ ทั้งในการเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุข ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ได้บางชนิด แต่ต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว

ความเป็นพิษ : เมื่อได้รับสารฆ่าแมลงเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดปฏิกริยาทางเคมีกับเอนไซม์ในร่างกาย มีผลให้เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ตามปกติของระบบประสาททั้งในคนและสัตว์ ความเป็นพิษขึ้นกับคุณสมบัติของสารเคมีแต่ละชนิด วิธีการได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณความถี่ สุขภาพของผู้ได้รับสารพิษและก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ มึนงง หายใจลำบาก แน่นในอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน กล้าวเนื้อโดยเฉพาะที่ลิ้นและหนังตากระตุก ชัก หมดสติ

สารปนเปื้อนในอาหาร

บทสรุป

จากการสุ่มตรวจเพื่อหาสารปนเปื้อนในอาหารและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารของสาธารณสุขจังหวัด ตั้งแต่ปี 2551-2553 พบว่า แนวโน้มของสารปนเปื้อนที่ผสมอยู่ในอาหารมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีมาตรการใดๆ มาแก้ไข ‘อาหาร’ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างร่างกายให้มีสุขภาพดี อาจกลายเป็นยาพิษที่ย้อนกลับมาทำลายสุขภาพของเราได้เช่นกัน

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่  calendimaggio.com

สนับสนุนโดย  ufabet369